วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย




1.ประโยคที่ใช้ในการสื่อสาร(ระดับประถมศึกษา)



ประโยคที่ใช้ในการสื่อสาร สามารถแบ่งได้เป็น 5 ลักษณะ ได้แก่
1. ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่มีลักษณะเป็นการบอกกล่าวหรือเล่าข้อความ เช่น
     -  น้องดื่มนม
     -  นกจิกหนอน
     -  แม่ค้าขายผัก
     -  เก่งกินข้าว
2. ประโยคคำถาม คือ ประโยคที่มีลักษณะเป็นการซักถามที่ต้องการคำตอบ ซึ่งมักจะมีคำว่า ใคร อะไร ไหน อย่างไร ทำไม อยู่ในประโยค เช่น
     -  ใครไปทะเล
     -  คุณพ่ออยู่ที่ไหน
     -  พี่จะทำอะไร
     -  เขาสร้างบ้านนี้ได้อย่างไร
แต่ถ้าประโยคใดที่แสดงคำถาม แต่ไม่ได้ต้องการคำตอบ จะไม่ใช่ประโยคคำถาม เช่น
     -  ใครจะไปเที่ยวก็ได้
     -  พี่จะทำอะไรก็ได้
     -  คุณพ่ออยู่ที่ไหนก็ไม่ทราบ
     -  ฉันไม่รู้ว่าเขาสร้างบ้านนี้ได้อย่างไร
3. ประโยคปฏิเสธ คือ ประโยคที่บอกความไม่ยอมรับ ซึ่งมักจะมีคำว่า ไม่ ไม่ได้ มิได้ อยู่ในประโยค เช่น
     -  แม่ไม่ไปทะเล
     -  พ่อไม่ได้ไปทำงาน
     -  น้องยังไม่ได้อาบน้ำ
4.  ประโยคคำสั่ง คือ ประโยคที่ต้องการให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านทำตามที่ผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการ ซึ่งมักจะมีคำว่า จง ห้าม อย่า อยู่ในประโยคเช่น
     -  ห้ามเลี้ยวขวา
     -  อย่าวิ่งเล่นในห้องเรียนเรียน
     -  จงเเต่งประโยคจากคำที่กำหนดให้
5. ประโยคขอร้อง และชักชวน คือ ประโยคที่ผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการขอร้อง หรือชักชวนให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามที่ตนการ ซึ่งมักจะมีคำว่า ช่วย โปรด กรุณา อยู่หน้าประโยค เพื่อแสดงอาการขอร้องและชักชวน เช่น
     -  โปรดเอื้อเฟื้อแก่เด็ก สตรี และคนชรา
     -  ช่วยปิดไปทุกครั้งหลังออกจากห้องน้ำ
     -  กรุณาทิ้งขยะลงในถังขยะ
* เราควรเลือกใช้ประโยคในการสื่อสารให้ถูกต้องและเหมาะสมกับโอกาส โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน และใช้ถ้อยคำที่สุภาพ ไม่ว่ากล่าวผู้ใด การสื่อสารจึงจะประสบความสำเร็จ
แหล่งที่มา




2.มาตราตัวสะกดในภาษาไทย(ประถมศึกษาปีที่3)



  มาตราตัวสะกดมีทั้งที่ใช้ตัวสะกดตรงแม่ และมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงแม่ การเรียนรู้มาตราตัวสะกดต่างๆ ทำให้เขียนและอ่านคำได้ถูกต้อง
     มาตราตัวสะกด คือ พยัญชนะที่ผสมอยู่ข้างหลังคำหรือพยางค์ในแม่ ก กา ทำให้แม่ ก กา มีตัวสะกด เช่น มี เมื่อประสมกับ  กลายเป็น มีด เป็นต้น
     มาตรา ก กา หรือแม่ ก กา คือ คำหรือพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น มา เสือ ตัว มือ เสีย ดำ ฯลฯ ส่วนมาตราตัวสะกดมีทั้งหมด ๘ แม่ คือ กก กด กบ กม เกย เกอว กง กน แบ่งได้ดังนี้
๑. มาตราตัวสะกดตรงแม่ ใช้ตัวสะกดตัวเดียว มี ๔ มาตรา คือ
     แม่กง ใช้ ง สะกด เช่น หา ปลิ สอ ง แร ฯลฯ 
     แม่กม ใช้ ม สะกด เช่น ล แต้ โส มุ งอ สนา ฯลฯ
     แม่เกย ใช้ ย สะกด เช่น สา ลอ โปร เฉ ปุ๋ ฯลฯ
     แม่เกอว ใช้ ว สะกด เช่น แห้ กา เปรี้ย เปล ฯลฯ
๒. มาตราตัวสะกดไม่ตรงแม่ มีตัวสะกดหลายตัวในมาตราเดียวกัน เพราะออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน มี ๔ มาตรา คือ
     แม่กน ใช้ น ญ ณ ร ล ฬ สะกด เช่น นา วิญา วาน กาเวลา พระกา ฯลฯ
     แม่กก ใช้ ก ข ค ฆ สะกด เช่น ปั เล วิห เม ฯลฯ
     แม่กด ใช้ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เช่น แปด ตรว ก๊า บงก กหมาย ปราก อิ ครุ วันา เปรต โอส บา โกร กระดา ร เลิ ฯลฯ
     แม่กบ ใช้ บ ป ภ พ ฟ สะกด เช่น กลั บา ลา นรัตน์ กรา ฯลฯ

มาตราตัวสะกดในภาษาไทยแม่ ก กา 
แม่ เกย 
แม่ กด
แม่ กง 
แม่ เกอว 
แม่ กน
แม่ กม 
แม่ กก 
แม่ กบ

แม่ ก กา

คำในแม่ ก กา เป็นคำที่ไม่มีพยัญชนะเป็นตัวสะกด ท้ายคำ หรือ ท้ายพยางค์ อ่านออกเสียงสระโดยไม่มีเสียงพยัญชนะ

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ ก กา

    กติกา โกลี คร่ำคร่า เคอะ เงอะงะ เฉโกโว้เว้ ซาฟียะห์ น้ำบูดู ปรานี ไม่เข้ายา โยทะกา เรือกอและ  เล้า โสภา หญ้าคา อาชา

แม่ กง

พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กง คือ อ่านอย่างเสียง ง

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กง

    กองกลาง โขมง คล้องจอง คูปอง จ้องหน่อง ฉิ่ง ตะราง ตุ้งติ้ง ประลอง พิธีรีตอง มะเส็ง แมงดา รำพึง สรงน้ำ สำเนียง แสลง

แม่ กม

พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กม คือ อ่านออกเสียง ม

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กม

    กระหม่อม คำราม จริยธรรม ชมรม ถล่ม ทะนุถนอม ทิม ทุ่ม บรรทม บังคม เปรมปรีดิ์ พฤติกรรม ภิรมย์ แยม หยาม อาศรม

แม่ เกย

พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่เกย คือ อ่านออกเสียง ย

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ เกย

    กระจ้อยร่อย ข่าย ชีวาลัย ทยอย นโยบาย เนย เนื้อทราย เปรียบเปรย พระทัย โพยภัย ภูวไนย เสวย มโนมัย วินัย สาหร่าย อาชาไนย

แม่ เกอว
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่เกอว คือ อ่านออกเสียง ว

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ เกอว

    กริ้ว  ก๋วยเตี๋ยว  ข้าวยำ  ข่าวลือ  จิ๋ว  เจื้อยแจ้ว ดาวฤกษ์  ต้นงิ้ว  ท้าวไท  ทาวน์เฮ้าส์  ประเดี๋ยว  ยั่ว เลิกคิ้ว หิวข้าว  เหว  อ่าว

แม่ กก

พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กก คือ อ่านออกเสียง ก 

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กก

    โขยกเยก  จ้อกแจ้ก  จักตอก  ชาดก  ดอกบุก  ทาก  นกเงือก  ปักษา  แฝก  พักตร์ มรดก  ไม้กระบอก วิตก  สามาชิก หญ้าแพรก  เอกลักษณ์

แม่ กด

พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กด คือ อ่านออกเสียง ด 

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กด

    กระจาด  กะทัดรัด  ขนาดย่อม  ดอกพุด  นัดดา  แน่นขนัด  เพนียด  แรด  ลานวัด  สลัด  สะพัด  หวุดหวิด หูฝาด  อดออม  อดสู  เอร็ดอร่อย

แม่ กน

พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กน คือ อ่านออกเสียง น

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กน

    กระตือรือร้น  กันแสง  ขมีขมัน  ขึ้นแท่น  คำประพันธ์  จินดา ชันษา ชุลมุน  ดูหมิ่น  ต้นหว้า  โต๊ะจีน พระชนนี

แม่ กบ

พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กบ คือ อ่านออกเสียง บ

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กบ

    คาคบ  ตะขบ  ทะเลสาบ  น้ำมันดิบ  ประทับ  ผลกระทบ  พลับพลา  รสแซบ  ระเบียบ  ริบหรี  ลบหลู่ วัตถุดิบ  เว็บไซต์  สายลับ  สู้ยิบตา  หับ
แหล่งที่มา


3.คำเป็น คำตาย(ประถมศึกษาปีที่4)




กบด ต้องตายก่อน อายุสั้นถึงตายตาม
คำเป็น  คำตาย
                คำเป็น  คำตาย  เป็นการจำแนกคำตามลักษณะที่ใช้ระยะเวลาออกเสียงต่างกัน  ซึ่งลักษณะ
ดังกล่าวจะทำให้คำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นรูปเดียวกัน  มีเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน  ตัวอย่างเช่น  คา  
เป็นอักษรต่ำ  คำเป็น  พื้นเสียง*  เป็นเสียงสามัญ
ส่วน  คะ  เป็นอักษรต่ำคำตาย  เสียงสั้น  พื้นเสียงเป็นเสียงตรี
                คำเป็น  ได้แก่  คำที่มีลักษณะ  ดังต่อไปนี้
๑.   คำที่พยัญชนะประสมกับสระเสียงยาวในแม่  ก  กา  เช่น  มา  ดู  ปู  เวลา  ปี  ฯลฯ
๒.  คำที่พยัญชนะประสมกับสระ  –ำ    ใ -  ไ -  เ – า  เช่น  จำ  น้ำ  ใช่  เผ่า  เสา  ไป  ฯลฯ
๓.  คำที่มีตัวสะกดอยู่ในแม่  กง  กน  กม  เกย  เกอว  เช่น  จริง  กิน  กรรม  สาว  ฉุย  ฯลฯ
                คำตาย  ได้แก่  คำที่มีลักษณะ  ดังต่อไปนี้
๑.   คำที่พยัญชนะประสมกับสระเสียงสั้นในแม่  ก  กา  เช่น  กะทิ  เพราะ  ดุ  แคะ  ฯลฯ
๒.  คำที่มีตัวสะกดในแม่  กก  กบ  กด  เช่น  บทบาท  ลาภ  เมฆ  เลข  ธูป  ฯลฯ
 สรุป
                วิธีพิจารณา
                                ๑)    ให้สังเกตที่ตัวสะกดเป็นหลัก  ถ้าคำที่ต้องการพิจารณามีตัวสะกดให้ดูที่ตัว
สะกดไม่ต้องคำนึงถึงสระเสียงสั้นยาว  ดูว่าคำนั้นมีตัวสะกดหรือไม่  ถ้ามีให้ขีดเส้นใต้ตัวสะกด
                                ๒)  ดูว่าตัวสะกดนั้นเป็น  กบด  หรือไม่  ( แม่  กก  กบ  กด )  ถ้าใช่  คำนั้นจะเป็น
คำตาย  ถ้าไม่ใช่  กบด คำนั้นจะเป็นคำเป็น
                                ๓)  ในกรณีที่ไม่มีตัวสะกด  ให้ดูว่าคำนั้นประสมด้วยสระเสียงสั้น  หรือเสียงยาว
ถ้าอายุสั้น
( เสียงสั้น )  ต้องตาย  ถ้าอายุยาว  ( เสียงยาว )  จึงเป็น
กลวิธีในการจำคำเป็น  คำตาย
คำตาย
คำเป็น
-  พวกที่เป็น  กบด  ต้องตายก่อน  (สะกดด้วยแม่  กก  กบ  กด)
-  อายุสั้นต้องตายตาม  (ประสมด้วยสระเสียงสั้น)
-  สะกดด้วยแม่  กง  กน  กม  เกย  เกอว
-  อายุยาวเป็น  (ประสมด้วยสระเสียงยาว)

                ให้จำในส่วนของคำตายให้ได้เพราะจำง่าย  คือ  กบด  ต้องตายก่อน  และอายุสั้นต้องตายตาม  กล่าวคือ  สะกดด้วยแม่
กก  กบ  กด  (กรณีมีตัวสะกด)  และประสมด้วยสระเสียงสั้น  (กรณีไม่มีตัวสะกด)  เป็นคำตาย  นอกเหนือ
จากนี้เป็นคำเป็นทั้งหมด
                ***  ดังนั้นสรุปได้ว่า  คำที่ประสมด้วยสระ  –ำ    ใ -  ไ -  เ – า  เป็นคำเป็น  เพราะนับว่ามี
ตัวสะกด ในมาตรา แม่กม  แม่เกย และ แม่เกอว ตามลำดับ

* พื้นเสียง  หมายถึง  เสียงที่ปรากฏประจำคำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์  หากมีเสียงวรรณยุกต์ใด  ก็ถือว่าคำ
นั้นมีพื้นเสียงนั้น  เช่น  คา  ไม่มีรูป
วรรณยุกต์กำกับ  แต่มีเสียงวรรณยุกต์สามัญ  จึงนับว่า  คา  ซึ่งเป็นอักษรต่ำคำเป็น  มีพื้นเสียงเป็นเสียง
สามัญ
แหล่งที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น