วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์


1.โครงสร้างและหน้าที่ของผลกับเมล็ด

ผล  คือ ส่วนที่เจริญมาจากรังไข่  ภายหลังเกิดการปฏิสนธิ
-ผลบางชนิดไม่ได้เจริญมาจากรังไข่  แต่เจริญเติบโตมาจากฐานรองดอก เรียกว่า  "ผลเทียม"
เช่น  ชมพู่  แอปเปิล
-ผลบางชนิดมีเนื้อมาก  จึงใช้รับประทานได้  เช่น  เงาะ  มะม่วง  ลำไย  ส้ม
-ผลบางชนิดไม่มีส่วนเนื้อ  มีเปลือกบางติดแนบกับเมล็ดเรียกว่า "เมล็ด"  เช่น ข้าว  ถั่วลิสง  ทานตะวัน
หน้าที่ของผล  ผลมีหน้าที่สะสมอาหาร  และห่อหุ้มเมล็ดเพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ด เกิดอันตราย
ส่วนประกอบของผล  ผลประกอบด้วย 3 ส่วน  คือ เนื้อ เมล็ด เปลือก

โครงสร้างของผล

เมื่อรังไข่เปลี่ยนแปลงกลายเป็นผล ผนังรังไข่จะเปลี่ยนเป็นเพริคาร์ป (pericarp) ห่อหุ้มเมล็ดอยู่ภายใน เพริคาร์ปของผลแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ได้แก่ เอกโซคาร์ป มีโซคาร์ปและเอนโดคาร์ป
            1.1 เอกโซคาร์ป (exocarp) เป็นชั้นนอกสุดของผลที่มักเรียกว่าเปลือก โดยทั่วไปประกอบด้วยเนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิสเพียงชั้นเดียว แต่ก็มีผลบางชนิดที่เอกโซคาร์ประกอบด้วยเนื้อเยื่อหลายชั้นและอาจมีปากใบด้วย เอกโซคาร์ปของพืชแต่ละชนิดจะมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น เรียบเหนียว เป็นมัน ขรุขระ อาจมีหนาม มีขนหรือต่อมน้ำมัน
            1.2 มีโซคาร์ป (mesocarp) เป็นชั้นกลางถัดจากเอกโซคาร์ปเข้ามา ผลบางชนิดนั้นมีโซคาร์ปหนา บางชนิดบางมาก มีโซคาร์ปของผลบางชนิดเป็นเนื้ออ่อนนุ่มใช้รับประทานได้
            1.3 เอนโดคาร์ป (endocarp) เป็นชั้นในสุดของเพริคาร์ป ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่มีความหนาชั้นเดียวหรือหลายชั้นจนมีลักษณะหนามาก บางชนิดเป็นเนื้อนุ่มใช้รับประทานได้

            เพริคาร์ปของผลแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป ผลบางชนิดมีเพริคาร์ปเชื่อมติดกันจนแยกไม่ออก เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง บางชนิดส่วนเอกโซคาร์ปและมีโซคาร์ปเชื่อมติดกันหรือแยกกันไม่เด่นชัด เช่น มะเขือเทศ มะละกอ ฟัก แต่เพริคาร์ปของพืชอีกหลายชนิดสามารถแยกเป็น 3 ชั้นชัดเจน เช่น มะม่วง พุทรา มะพร้าว มะปราง
            ผลที่กำเนิดมาจากรังไข่แบบอินฟีเรีย เช่น แตงกวา ฟักทอง ทับทิมและฝรั่ง มีเปลือกนอกเป็นผนังของฐานดอก ส่วนเพริคาร์ปจะอยู่พัดเข้าไปและมักเชื่อมรวมกันจนสังเกตยาก ผลบางชนิดมีส่วนเนื้อที่รับประทานได้เจริญมาจากฐานดอกซึ่งอวบเต่งเจริญเป็นเนื้อผล เช่น แอปเปิ้ล ส่วนที่เป็นเพริคาร์ปจริง ๆ จะอยู่ข้างใน เนื้อของผลชนิดนี้เรียกว่า ซูโดคาร์ป (seudocarp)
เมล็ดพืชบางชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด ทานตะวัน ดาวเรือง ผักกาดหอม ส่วนที่เรียกว่า เมล็ดนั้นแท้จริงแล้วคือผล ซึ่งเป็นผลที่มีขนาดเล็ก มีเพริคาร์ปบางมากแนบสนิทกับเยื่อหุ้มเมล็ด ดังในกรณีของบัว ส่วนของแกลบก็คือเพริคาร์ป รำคือส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดและข้าวสารที่ใช้รับประทานคือ เอนโดสเปิร์ม


เมล็ด คือ  ออวุลที่ได้รับการผสมและเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว  เมล็ดพืชแต่ละ ชนิดจะมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน
 ส่วนประกอบของเมล็ดเมล็ดประกอบด้วย  3  ส่วน  คือ
              1.  เปลือกหุ้มเมล็ด
              2.  ต้นอ่อน
              3.  อาหารเลี้ยงต้นอ่อน
ใบเลี้ยง  คือส่วนที่อยู่ในเมล็ด  มีลักษณะหนา  แข็ง  และอวบ  ทำหน้าที่สะสมอาหารไว้เลี้ยงต้นอ่อน
             พืชใบเลี้ยงคู่  จะมีใบเลี้ยง  2  ใบ
             พืชใบเลี้ยงเดี่ยว  จะมีใบเลี้ยงใบเดียว
หน้าที่ของเมล็ด •เมล็ดมีหน้าที่ในการแพร่พันธุ์  โดยวิธีการต่าง ๆ  ตามลักษณะเมล็ดพืช เช่น  อาศัยลม  น้ำ  คน สัตว์  การดีดกระเด็นของเมล็ดพืชเมื่อเมล็ดพืชแตก
•เมล็ดเมื่อได้รับความชื้น(น้ำ)  อากาศ  อุณหภูมิที่พอเหมาะ  เมล็ดจะงอกเป็นต้นใหม่  และเจริญเติบโตออกดอก  ผล  และเมล็ดวนเวียนเช่นนี้ ตลอดไป
แหล่งที่มา



กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย




1.ประโยคที่ใช้ในการสื่อสาร(ระดับประถมศึกษา)



ประโยคที่ใช้ในการสื่อสาร สามารถแบ่งได้เป็น 5 ลักษณะ ได้แก่
1. ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่มีลักษณะเป็นการบอกกล่าวหรือเล่าข้อความ เช่น
     -  น้องดื่มนม
     -  นกจิกหนอน
     -  แม่ค้าขายผัก
     -  เก่งกินข้าว
2. ประโยคคำถาม คือ ประโยคที่มีลักษณะเป็นการซักถามที่ต้องการคำตอบ ซึ่งมักจะมีคำว่า ใคร อะไร ไหน อย่างไร ทำไม อยู่ในประโยค เช่น
     -  ใครไปทะเล
     -  คุณพ่ออยู่ที่ไหน
     -  พี่จะทำอะไร
     -  เขาสร้างบ้านนี้ได้อย่างไร
แต่ถ้าประโยคใดที่แสดงคำถาม แต่ไม่ได้ต้องการคำตอบ จะไม่ใช่ประโยคคำถาม เช่น
     -  ใครจะไปเที่ยวก็ได้
     -  พี่จะทำอะไรก็ได้
     -  คุณพ่ออยู่ที่ไหนก็ไม่ทราบ
     -  ฉันไม่รู้ว่าเขาสร้างบ้านนี้ได้อย่างไร
3. ประโยคปฏิเสธ คือ ประโยคที่บอกความไม่ยอมรับ ซึ่งมักจะมีคำว่า ไม่ ไม่ได้ มิได้ อยู่ในประโยค เช่น
     -  แม่ไม่ไปทะเล
     -  พ่อไม่ได้ไปทำงาน
     -  น้องยังไม่ได้อาบน้ำ
4.  ประโยคคำสั่ง คือ ประโยคที่ต้องการให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านทำตามที่ผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการ ซึ่งมักจะมีคำว่า จง ห้าม อย่า อยู่ในประโยคเช่น
     -  ห้ามเลี้ยวขวา
     -  อย่าวิ่งเล่นในห้องเรียนเรียน
     -  จงเเต่งประโยคจากคำที่กำหนดให้
5. ประโยคขอร้อง และชักชวน คือ ประโยคที่ผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการขอร้อง หรือชักชวนให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามที่ตนการ ซึ่งมักจะมีคำว่า ช่วย โปรด กรุณา อยู่หน้าประโยค เพื่อแสดงอาการขอร้องและชักชวน เช่น
     -  โปรดเอื้อเฟื้อแก่เด็ก สตรี และคนชรา
     -  ช่วยปิดไปทุกครั้งหลังออกจากห้องน้ำ
     -  กรุณาทิ้งขยะลงในถังขยะ
* เราควรเลือกใช้ประโยคในการสื่อสารให้ถูกต้องและเหมาะสมกับโอกาส โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน และใช้ถ้อยคำที่สุภาพ ไม่ว่ากล่าวผู้ใด การสื่อสารจึงจะประสบความสำเร็จ
แหล่งที่มา